วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย


3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย
                           3.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีขั้นตอนการสร้างตามหลักการของ Generic ID Model (ADDIE)  ดังต่อไปนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
2. ขั้นออกแบบ (Design)
3. ขั้นพัฒนา (Development)
-  สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตวิชา ทักษะภาษาไทย
 เพื่ออาชีพ โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
-   สร้างแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
-   สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
-   สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนที่สร้างขึ้น
4. ขั้นการทดลองใช้ (Implementation)
-   นำบทเรียนมาทดลองใช้กับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่  1 
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  วิทยาลัยเทคนิคยโสธร
-  สอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่เกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation)
-   การประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน
-   ประเมินบทเรียนจากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น