วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย

โวหาร คือ การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ 

 เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี   มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง  

โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียน

ให้แปลกออกไปจาก ภาษาตามตัวอักษร   ทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ

ประเภทของโวหารภาพพจน์ 

๑. อุปมาโวหาร (Simile)

     อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่า  สิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง  โดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมาย เช่นเดียวกับคำว่า  
เหมือน เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง

ตัวอย่าง
              ปัญญาประดุจดังอาวุธ       ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง

             ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา         จมูกเหมือนลูกชมพู่ ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ

            ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ      ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี

                  คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย                 จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
               หูกลวงดวงพักตร์หักงอ                ลำคอโตตันสั้นกลม 


                   สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว     โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
            เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม             มันน่าเชยน่าชมนางเทวี

                                                                     (ระเด่นลันได : พระมหามาตรี (ทรัพย์))

๒. อุปลักษณ์ ( Metaphor )

        อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ

สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง     

 มักจะมีคำ เป็น คือ มี ๓ ลักษณะ
๑. ใช้คำกริยา เป็น คือ = เปรียบเป็น เช่น โทสะคือไฟ
๒. ใช้คำเปรียบเป็น เช่น ไฟโทสะ ดวงประทีปแห่งโลก ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย
๓. แสดงการเปรียบเทียบโดยปริยาย เช่น มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่

      อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญอุปลักษณ์

จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา    ตัวอย่าง เช่น 

      ขอเป็นเกือกทองรองบาทา     ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย       ทหารเป็นรั้วของชาติ           
    
๓. สัญลักษณ์ ( symbol ) 

    สัญลักษณ์  เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่ง   โดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ  ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำ


ที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ  ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น  
เมฆหมอก แทน อุปสรรค                     สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว แทน ความบริสุทธิ์                     กุหลาบแดง แทน ความรัก
หงส์ แทน คนชั้นสูง                            กา แทน คนต่ำต้อย
ดอกไม้ แทน ผู้หญิง                              แสงสว่าง แทน สติปัญญา
เพชร แทน ความแข็งแกร่ง ความเป็นเลิศ

๔. บุคลาธิษฐาน ( Personification )


บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต บุคคลสมมติ คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ

เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว ์ โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้

แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต

 ( บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐานหมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )

        มองซิ..มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน                บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น    บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป 

๕. อธิพจน์ ( Hyperbole )           อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ  โวหารที่กล่าวเกินความจริง  เพื่อสร้างและ

เน้นความรู้สึกและอารมณ์    ทำให้ผู้ฟัง เกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง  ภาพพจน์ชนิดนี้  นิยมใช้กันมากแม้ใน

ภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าว   ที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่าง เช่น   คิดถึงใจจะขาด      คอแห้งเป็นผง      ร้อนตับจะแตก     หนาวกระดูกจะหลุด

การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า

  
๖. สัทพจน์ ( Onematoboeia )

สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ   เช่น  เสียงดนตรี   เสียงสัตว์    เสียงคลื่น
 เสียงลม  เสียงฝนตก  เสียงน้ำไหล  ฯลฯ

 การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้  จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ

ตัวอย่างเช่น   ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ  ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ  ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ  เปรี้ยง ๆ ดังเสียงฟ้าฟาด

                        ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก   กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์


๗. นามนัย ( Metonymy )
นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ สัญลักษณ์


 แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด

 หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น เมืองโอ่ง หมายถึง จังหวัดราชบุรี        เมืองย่าโม หมายถึง จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย                          ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์


ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว

อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น     เลวบริสุทธิ์     บาปบริสุทธิ์     สวยเป็นบ้า      สวยอย่างร้ายกาจ      สนุกฉิบหาย
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย            เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ          แพ้เป็นพระ   ชนะเป็นมาร
*

ตัวอย่างเช่น ชีวิตคือการต่อสู้     ศัตรูคือยากำลัง    สวรรค์บนดิน   แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร 

 ๘. ปรพากย์ ( Paradox )    เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย   กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย

ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า "อวพจน์" 

ตัวอย่างเช่น  เล็กเท่าขี้ตาแมว      เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว       รอสักอึดใจเดียว 

ผู้ชนะสิบทิศ

 
10 ข้อแตกต่างระหว่าง ผู้ชนะกับ ผู้แพ้

1.  ยอมรับผิด
*  ผู้ชนะ  :  เมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาด  จะพูดว่า ฉันทำผิดเอง
*  ผู้แพ้    :  เมื่อพบว่ามีข้อผิดพลาด จะพูดว่าไม่ใช่ความผิดของฉัน

2.  วางแผนเป็น 
*  ผู้ชนะ  :  จะทำงานหนักกว่าปกติ และมีเวลามากกว่าผู้แพ้
*   ผู้แพ้  :  จะทำงานแบบยุ่งทั้งวันโดย ไม่คิดว่างานไหน ควรทำก่อนทำหลัง

3.  สู้และแก้ปัญหา
*  ผู้ชนะ : จะเผชิญหน้ากับปัญหาและลงมือแก้ไขปัญหานั้น
*  ผู้แพ้  : จะทำในทางตรงกันข้าม  คือหลีกเลี่ยงปัญหา

4.  มีผลงาน
*  ผู้ชนะ : จะลงมือทำงานให้ปรากฏผลงานขึ้น
*  ผู้แพ้ :  จะให้แต่สัญญา คือ  มีแต่ลมปาก แต่ไม่ลงมือ

5.  รู้จักถ่อมตัว
*  ผู้ชนะ : ฉันทำได้ดี แต่ยังไม่ดีเท่ากับที่ต้องการ
*  ผู้แพ้  : ยังมีคนอื่นอีกหลายคนที่มีผลงานแย่กว่าตัวเรา

6.  รับฟัง
*  ผู้ชนะ : จะตั้งใจฟัง แล้วทำความเข้าใจ และ สามารถตอบสนองได้
*  ผู้แพ้ :  จะรออย่างเดียวโดยไม่ฟัง ไม่ทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
           รอจนกว่าจะถึงคิวของตัวเองที่ได้พูดไว้

7.  ยอมรับคนอื่น
*  ผู้ชนะ : จะยอมรับนับถือ คนที่มีความสามารถเหนือกว่า และจะเรียนรู้จากคนเหล่านั้น
*  ผู้แพ้ : จะทำในทางตรงกันข้าม  และจะพยายามหาข้อผิดพลาดของคนที่เหนือกว่าตนเอง
8.  มีความรับผิดชอบ
*  ผู้ชนะ : จะมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่งาน  ที่ได้รับมอบหมาย  แต่จะช่วยคิดให้ องค์กรประสบความสำเร็จ (ไม่ใช่ก้าวก่ายงาน)
*  ผู้แพ้ : จะไม่กล้าที่จะช่วยเหลือคนอื่น และมักพูดว่าฉันไม่ว่างกำลังทำงานของฉันอยู่
9.  มีวิธีและวินัยทำงาน        
*    ผู้ชนะ : ต้องมีวิธีที่จะทำให้ดีขึ้น ได้เสมอ
*    ผู้แพ้ :  จะพูดว่า นี่คือหนทางเดียว  ที่ทำได้
10.  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
*  ผู้ชนะ : จะแบ่งปันบทความนี้ไปยัง เพื่อนของเขา
ผู้แพ้ : จะเก็บบทความนี้เอาไว้ เพราะว่า เขาไม่มีเวลาที่จะแบ่งปันไปให้คนอื่น

โปรดสำรวจตนเอง แล้วสรุปให้ได้ว่า..
*  คุณจะเป็น ผู้ชนะ หรือ ผู้แพ้

*   ขอให้ผู้ชนะทุกคน  จงมีความสุขกับสิ่งที่ ตนเองได้ขยันทำดีไว้
  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่ออนาคต

*  ขอให้ผู้แพ้ทุกคน จงคิดใหม่ ทำใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป
 เพื่ออนาคตที่ดีงามในวันต่อไป